คุณเคยเจอปัญหาอะไรอีกหรือไม่?
เรื่องโครงสร้างเงินเดือน
1.
เงินเดือนขึ้นตามอายุงาน ไม่ใช่ผลงาน ยิ่งอยู่นาน เงินเดือนเยอะขึ้นไปเรื่อยๆ แถมบางองค์กรจ่ายโบนัสตามอายุงานซะอีก
2.
เงินเดือนไม่สะท้อนค่างาน ดูแค่เงินเดือน ไม่ดูชื่อตำแหน่ง ตอบไม่ได้ว่าใครค่างานสูงกว่ากัน
3.
จัดค่างานผิด เลยจ่ายเงินเดือนผิด บางตำแหน่งค่างานต่ำแต่จัดไปอยู่ในระดับที่สูง ทำให้บริษัทจ่ายเงินเดือนเกินความจำเป็น บางตำแหน่งค่างานสูงแต่จัดไปอยู่ในระดับต่ำ ทำให้รักษาคนไม่ได้ (คนเก่งลาออก)
4.
เงินเดือนไม่ตัน ธุรกิจอาจจะถึงทางตัน บางตำแหน่งงานเงินเดือนเกินค่างานไปนานแล้ว ขึ้นเงินเดือนแบบ Non-Stop
5.
ปรับเงินเดือนตามฐานเงินเดือนใคร เงินเดือนมัน คนเงินเดือนสูง แม้ผลงานไม่ดีก็ได้ปรับเยอะ มากกว่าคนที่ผลงานดี แต่ฐานเงินเดือนต่ำ
6.
ความเชื่อผิด ไม่มีโครงสร้างเงินเดือนก็ทำธุรกิจได้ความเชื่อนี้ถูกเมื่อธุรกิจไซส์เล็ก แต่เมื่อโตขึ้นความเชื่อนี้ใช้ไม่ได้ เพราะต้นทุนแรงงานสูงมาก
7.
ผู้บริหารไว้ใจ HR ดูแลเรื่องโครงสร้างเงินเดือน HR รู้เฉพาะเทคนิคการทำโครงสร้างเงินเดือน แต่ไม่เข้าใจการบริหารต้นทุนแรงงานที่แท้จริง มีโครงสร้างเงินเดือนไว้แค่ตอบโจทย์พนักงาน ไม่ได้ตอบโจทย์ธุรกิจ
8.
มีโครงสร้างเงินเดือนแบบทำครั้งเดียวใช้ตลอดชีพ (ไม่เป็นปัจจุบัน)รูปแบบธุรกิจเปลี่ยน กลุ่มลูกค้าเปลี่ยน งานเปลี่ยน คนเปลี่ยน แต่โครงสร้างเงินเดือนไม่เปลี่ยน
9.
จ้างคนมาทำโครงสร้างเงินเดือน ที่ได้รูปแบบสวยๆ แต่ใช้งานไม่ได้ จ้างที่ปรึกษามาทำให้ แต่ไม่เข้าใจว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
10.
โครงสร้างเงินเดือนเป็นความลับ ระบบนี้เป็นความลับจนไม่มีคนอื่นรู้ นอกเหนือจาก HR
11.
อยากแข่งขันกับตลาดได้ แต่ไม่มีความสามารถในการจ่าย
เกิดความสับสนในการตัดสินใจว่าจะสู้กับราคาตลาด หรือถอยดี
12.
อยากแข่งขันกับตลาดได้ทุกตำแหน่ง แต่ไม่เคยประเมินว่าตำแหน่งควรแข่งหรือไม่ควรแข่ง สุดท้ายต้นทุนแรงงานเพิ่ม ตำแหน่งที่หาง่าย ก็หาง่ายกว่าเดิม ตำแหน่งที่หายาก ก็ยังยากเหมือนเดิม
13.
คนใหม่เงินเดือนข้ามหัวคนเก่า องค์กรเน้นแต่ทำยังไงให้จ้างคนใหม่ได้ โดยลืมดูเงินเดือนคนใหม่ข้ามหัวใครบ้าง
14.
เวลาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ปรับเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย แต่ละเลยคนเก่าที่เงินเดือนสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว เช่น คนที่เงินเดือนต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะได้รับการดูแล แต่คนที่เงินเดือนเกิน ไม่ได้ถูกพิจารณาร่วมด้วย
15.
จ่ายตามหลักกู ไม่จ่ายตามหลักการ จ่ายไม่อั้นกับเด็กเส้น ลูกท่านหลานเธอ อธิบายไม่ได้ว่าใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจ่าย
16.
จ้างมาทำงานในตำแหน่งสูง แต่ย้ายตัวไปทำงานในตำแหน่งต่ำ บริษัทฯ ก็ยังจ่ายสูงอยู่ องค์กรแก้ปัญหาไม่เด็ดขาด เช่น จ้างมาทำงานตำแหน่งที่มีเงินเดือนสูง พอทำไม่ได้ก็ลดตำแหน่ง แต่จ่ายราคาสูงเท่าเดิม
17.
พอคนเก่งลาออก ก็ปรับเงินเดือนให้คนที่ยังอยู่ ปรับเงินเดือนให้สูงแล้ว คนเก่งก็ลาออกอยู่ดี คนไม่เก่งก็โชคดี ได้ปรับเงินเดือนขึ้นทุกครั้ง
18.
ตำแหน่งที่หายาก ไม่ปรับเงินเดือน แต่ให้ค่าตอบแทนอื่นๆ เยอะมากมาย องค์กรแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่สร้างภาระระยะยาว
19.
ผู้บริหารรู้แต่ปัญหาเงินเดือนที่สู้องค์กรอื่นๆ ไม่ได้ แต่ตำแหน่งที่จ่ายสูงกว่าตลาด ผู้บริหารไม่รู้ HR มักจะเสนอขอปรับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่หาคนไม่ได้ แต่ไม่เคยมาบอกว่าตำแหน่งไหน จ่ายเกิน หรือ ควรชะลอเงินเดือนได้แล้ว
20.
จ่ายเงินเดือนตามยศ ไม่ได้จ่ายตามค่างานที่แท้จริง บางตำแหน่งทำงานเหมือนกันแต่มียศต่างกัน เงินเดือนก็จ่ายต่างกัน แต่ไม่สะท้อนความสามารถจริงๆ (ยศเกิดจากอายุงาน ยิ่งอยู่นาน ยิ่งได้ปรับยศ)
21.
จ่ายเงินเดือนเท่ากับคนที่ลาออกหรือเกษียน จ้างคนใหม่มาเลยทำให้มีปัญหา คนที่ออกหรือเกษียนบางคนเงินเดือนน้อยเกินไป เลยจ้างคนใหม่ไม่ได้ คนที่ออกมีเงินเดือนสูงมาก เพราะเป็นความสามารถส่วนบุคคล ไม่ใช่ค่างาน
22.
อยากมีโครงสร้างเงินเดือนเหมือนบริษัทฯ ใหญ่ โดยไม่เหมาะสมกับองค์กรตัวเอง สุดท้ายจ่ายไม่ได้ เพราะตำแหน่งงานไม่เหมือนกัน รูปแบบธุรกิจไม่เหมือนกัน
23.
จ้างคนไม่ได้ เพราะไม่เคยรู้ราคาตลาด ไม่เคยเอาข้อมูลสำรวจค่าจ้าง มาทบทวนการกำหนดโครงสร้างเงินเดือน
24.
คนเงินเดือนสูง ยิ่งปรับยิ่งสูง เพราะไม่มีระบบการชะลอค่าจ้าง คนบางคนทำงานผลงานกลางๆ แต่ปรับเงินเดือนจากฐานเงินเดือน ยิ่งปรับเท่ากับยิ่งเร่งให้ชนเพดาน
25.
ไม่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดสัดส่วนระหว่างเงินเดือนกับรายได้อื่นๆ บางตำแหน่งเงินเดือนกับรายได้อื่นๆ พอๆ กัน บางตำแหน่งรายได้อื่นสูงกว่าเงินเดือน
26.
จ่ายเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา มีปัญหาแน่นอน บางตำแหน่งพนักงานทำงานเหมือนกันแต่มีวุฒิการศึกษาสูงต่ำไม่เท่ากัน เช่น ปวส. ปริญญาตรี
27.
ผู้บริหารที่เป็นเจ้าของกิจการ ตั้งเงินเดือนให้ตัวเองน้อย ทำให้เมื่อต้องการจ้างมืออาชีพจาก ข้างนอกมาทำแทน ก็จ้างไม่ได้เพราะกำหนดไว้ต่ำเกิน
28.
ตำแหน่งสูงรายได้ลด ไม่มีใครอยากเป็นหัวหน้า พอเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้า รายได้อื่นๆ บางอย่างหายไปเช่น โอที เงินช่วยเหลือ เบี้ยขยัน หายไป
29.
สำรวจค่าจ้างกับตลาด เอาแค่ชื่อตำแหน่งไปเทียบ โดยไม่ได้ดูคำอธิบายของตำแหน่งงาน เช่น วิศวกรของเรา ทำงานหน้าเดียว เอาไปเทียบกับวิศวกรของบริษัทฯ อื่นๆ ที่ทำงานเยอะมาก
30.
พนักงานบางคนทำงานหลายตำแหน่ง บริษัทฯ เลยไม่รู้ว่าควรจ่ายเงินเดือนตามตำแหน่งไหน ปัญหาจะเกิดที่จะหาคนมาทดแทน เลยกำหนดอัตราจ้างไม่ได้
1.
เงินเดือนขึ้นตามอายุงาน ไม่ใช่ผลงาน ยิ่งอยู่นาน เงินเดือนเยอะขึ้นไปเรื่อยๆ แถมบางองค์กรจ่ายโบนัสตามอายุงานซะอีก
2.
เงินเดือนไม่สะท้อนค่างาน ดูแค่เงินเดือน ไม่ดูชื่อตำแหน่ง ตอบไม่ได้ว่าใครค่างานสูงกว่ากัน
3.
จัดค่างานผิด เลยจ่ายเงินเดือนผิด บางตำแหน่งค่างานต่ำแต่จัดไปอยู่ในระดับที่สูง ทำให้บริษัทจ่ายเงินเดือนเกินความจำเป็น บางตำแหน่งค่างานสูงแต่จัดไปอยู่ในระดับต่ำ ทำให้รักษาคนไม่ได้ (คนเก่งลาออก)
4.
เงินเดือนไม่ตัน ธุรกิจอาจจะถึงทางตัน บางตำแหน่งงานเงินเดือนเกินค่างานไปนานแล้ว ขึ้นเงินเดือนแบบ Non-Stop
5.
ปรับเงินเดือนตามฐานเงินเดือนใคร เงินเดือนมัน คนเงินเดือนสูง แม้ผลงานไม่ดีก็ได้ปรับเยอะ มากกว่าคนที่ผลงานดี แต่ฐานเงินเดือนต่ำ
6.
ความเชื่อผิด ไม่มีโครงสร้างเงินเดือนก็ทำธุรกิจได้ความเชื่อนี้ถูกเมื่อธุรกิจไซส์เล็ก แต่เมื่อโตขึ้นความเชื่อนี้ใช้ไม่ได้ เพราะต้นทุนแรงงานสูงมาก
7.
ผู้บริหารไว้ใจ HR ดูแลเรื่องโครงสร้างเงินเดือน HR รู้เฉพาะเทคนิคการทำโครงสร้างเงินเดือน แต่ไม่เข้าใจการบริหารต้นทุนแรงงานที่แท้จริง มีโครงสร้างเงินเดือนไว้แค่ตอบโจทย์พนักงาน ไม่ได้ตอบโจทย์ธุรกิจ
8.
มีโครงสร้างเงินเดือนแบบทำครั้งเดียวใช้ตลอดชีพ (ไม่เป็นปัจจุบัน)รูปแบบธุรกิจเปลี่ยน กลุ่มลูกค้าเปลี่ยน งานเปลี่ยน คนเปลี่ยน แต่โครงสร้างเงินเดือนไม่เปลี่ยน
9.
จ้างคนมาทำโครงสร้างเงินเดือน ที่ได้รูปแบบสวยๆ แต่ใช้งานไม่ได้ จ้างที่ปรึกษามาทำให้ แต่ไม่เข้าใจว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
10.
โครงสร้างเงินเดือนเป็นความลับ ระบบนี้เป็นความลับจนไม่มีคนอื่นรู้ นอกเหนือจาก HR
11.
อยากแข่งขันกับตลาดได้ แต่ไม่มีความสามารถในการจ่าย
เกิดความสับสนในการตัดสินใจว่าจะสู้กับราคาตลาด หรือถอยดี
12.
อยากแข่งขันกับตลาดได้ทุกตำแหน่ง แต่ไม่เคยประเมินว่าตำแหน่งควรแข่งหรือไม่ควรแข่ง สุดท้ายต้นทุนแรงงานเพิ่ม ตำแหน่งที่หาง่าย ก็หาง่ายกว่าเดิม ตำแหน่งที่หายาก ก็ยังยากเหมือนเดิม
13.
คนใหม่เงินเดือนข้ามหัวคนเก่า องค์กรเน้นแต่ทำยังไงให้จ้างคนใหม่ได้ โดยลืมดูเงินเดือนคนใหม่ข้ามหัวใครบ้าง
14.
เวลาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ปรับเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย แต่ละเลยคนเก่าที่เงินเดือนสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว เช่น คนที่เงินเดือนต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะได้รับการดูแล แต่คนที่เงินเดือนเกิน ไม่ได้ถูกพิจารณาร่วมด้วย
15.
จ่ายตามหลักกู ไม่จ่ายตามหลักการ จ่ายไม่อั้นกับเด็กเส้น ลูกท่านหลานเธอ อธิบายไม่ได้ว่าใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจ่าย
16.
จ้างมาทำงานในตำแหน่งสูง แต่ย้ายตัวไปทำงานในตำแหน่งต่ำ บริษัทฯ ก็ยังจ่ายสูงอยู่ องค์กรแก้ปัญหาไม่เด็ดขาด เช่น จ้างมาทำงานตำแหน่งที่มีเงินเดือนสูง พอทำไม่ได้ก็ลดตำแหน่ง แต่จ่ายราคาสูงเท่าเดิม
17.
พอคนเก่งลาออก ก็ปรับเงินเดือนให้คนที่ยังอยู่ ปรับเงินเดือนให้สูงแล้ว คนเก่งก็ลาออกอยู่ดี คนไม่เก่งก็โชคดี ได้ปรับเงินเดือนขึ้นทุกครั้ง
18.
ตำแหน่งที่หายาก ไม่ปรับเงินเดือน แต่ให้ค่าตอบแทนอื่นๆ เยอะมากมาย องค์กรแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่สร้างภาระระยะยาว
19.
ผู้บริหารรู้แต่ปัญหาเงินเดือนที่สู้องค์กรอื่นๆ ไม่ได้ แต่ตำแหน่งที่จ่ายสูงกว่าตลาด ผู้บริหารไม่รู้ HR มักจะเสนอขอปรับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่หาคนไม่ได้ แต่ไม่เคยมาบอกว่าตำแหน่งไหน จ่ายเกิน หรือ ควรชะลอเงินเดือนได้แล้ว
20.
จ่ายเงินเดือนตามยศ ไม่ได้จ่ายตามค่างานที่แท้จริง บางตำแหน่งทำงานเหมือนกันแต่มียศต่างกัน เงินเดือนก็จ่ายต่างกัน แต่ไม่สะท้อนความสามารถจริงๆ (ยศเกิดจากอายุงาน ยิ่งอยู่นาน ยิ่งได้ปรับยศ)
21.
จ่ายเงินเดือนเท่ากับคนที่ลาออกหรือเกษียน จ้างคนใหม่มาเลยทำให้มีปัญหา คนที่ออกหรือเกษียนบางคนเงินเดือนน้อยเกินไป เลยจ้างคนใหม่ไม่ได้ คนที่ออกมีเงินเดือนสูงมาก เพราะเป็นความสามารถส่วนบุคคล ไม่ใช่ค่างาน
22.
อยากมีโครงสร้างเงินเดือนเหมือนบริษัทฯ ใหญ่ โดยไม่เหมาะสมกับองค์กรตัวเอง สุดท้ายจ่ายไม่ได้ เพราะตำแหน่งงานไม่เหมือนกัน รูปแบบธุรกิจไม่เหมือนกัน
23.
จ้างคนไม่ได้ เพราะไม่เคยรู้ราคาตลาด ไม่เคยเอาข้อมูลสำรวจค่าจ้าง มาทบทวนการกำหนดโครงสร้างเงินเดือน
24.
คนเงินเดือนสูง ยิ่งปรับยิ่งสูง เพราะไม่มีระบบการชะลอค่าจ้าง คนบางคนทำงานผลงานกลางๆ แต่ปรับเงินเดือนจากฐานเงินเดือน ยิ่งปรับเท่ากับยิ่งเร่งให้ชนเพดาน
25.
ไม่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดสัดส่วนระหว่างเงินเดือนกับรายได้อื่นๆ บางตำแหน่งเงินเดือนกับรายได้อื่นๆ พอๆ กัน บางตำแหน่งรายได้อื่นสูงกว่าเงินเดือน
26.
จ่ายเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา มีปัญหาแน่นอน บางตำแหน่งพนักงานทำงานเหมือนกันแต่มีวุฒิการศึกษาสูงต่ำไม่เท่ากัน เช่น ปวส. ปริญญาตรี
27.
ผู้บริหารที่เป็นเจ้าของกิจการ ตั้งเงินเดือนให้ตัวเองน้อย ทำให้เมื่อต้องการจ้างมืออาชีพจาก ข้างนอกมาทำแทน ก็จ้างไม่ได้เพราะกำหนดไว้ต่ำเกิน
28.
ตำแหน่งสูงรายได้ลด ไม่มีใครอยากเป็นหัวหน้า พอเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้า รายได้อื่นๆ บางอย่างหายไปเช่น โอที เงินช่วยเหลือ เบี้ยขยัน หายไป
29.
สำรวจค่าจ้างกับตลาด เอาแค่ชื่อตำแหน่งไปเทียบ โดยไม่ได้ดูคำอธิบายของตำแหน่งงาน เช่น วิศวกรของเรา ทำงานหน้าเดียว เอาไปเทียบกับวิศวกรของบริษัทฯ อื่นๆ ที่ทำงานเยอะมาก
30.
พนักงานบางคนทำงานหลายตำแหน่ง บริษัทฯ เลยไม่รู้ว่าควรจ่ายเงินเดือนตามตำแหน่งไหน ปัญหาจะเกิดที่จะหาคนมาทดแทน เลยกำหนดอัตราจ้างไม่ได้
ซึ่งท่านสามารถรับชม สัมมนานี้
ได้อีกครั้งจากวีดีโอที่เรารวมไว้ใน
ซึ่งสามารถเก็บไว้เพื่อให้องค์กร ผู้บริหาร หัวหน้างาน สามารถเรียนรู้ ความรู้ที่ตกผลึก เรื่องของโครงสร้างเงินเดือน ได้ตลอดไป
โดยมีราคาเพียง 2,500 บาท (ส่งฟรี..!)
(ยังไม่รวม Vat7%)
สั่งซื้อได้ที่ Click เลย..!