#ถ้าถามผู้บริหารว่า
“ต้นทุนแรงงานที่จ่ายอยู่เหมาะสมไหม”
“ตอบได้ไหมว่าเงินเดือนพนักงานกลุ่มไหน ระดับไหน คนไหนที่บริษัทจ่ายน้อยไปหรือมากไป เพราะอะไร”
“ถ้าจะลดเงินเดือน คนกลุ่มไหนควรจะถูกลดเงินเดือนเป็นกลุ่มแรก”
“ถ้าจะปรับเงินเดือนเพื่อแข่งกับตลาดแรงงานคนกลุ่มไหนควรจะปรับ ปรับเท่าไหร่ดี ปรับแล้วมั่นใจหรือไม่ว่าคนเก่งไม่ลาออก คนนอกเก่งๆจะเข้าสมัคร”
“พนักงานแต่ละตำแหน่งควรจะมีเงินเดือนสูงสุดไม่ควรเกินเท่าไหร่เพราะอะไร แล้วปัจจุบันเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่”
“พนักงานหนึ่งคนมีสัดส่วนฐานเงินเดือนต่อผลตอบแทนรวมเหมาะสมหรือไม่เพราะอะไร”
“โครงสร้างเงินเดือน สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ และการเติบโตขององค์กรหรือไม่”
ฯลฯ
.
#อย่าปล่อยให้คำถามเหล่านี้ไร้คำตอบ
เพราะหากปล่อยไว้นาน ศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรจะยิ่งลดลง
.
ลดลงเพราะคนเก่งอายุงานน้อยเงินเดือนน้อยกว่าคนไม่เก่งแต่อยู่นาน คนเก่งลาออก คนเก่งข้างนอกไม่เข้ามา ต้นทุนแรงงานสูงสุดทุกๆปีลดไม่ได้หรือลดยากมาก และในที่สุดเงินเดือนที่จ่ายไม่คุ้มค่ากับผลงานที่พนักงานทำได้ ถึงตอนนั้นนอกจากกำไรหดแล้ว อาจจะต้องจ่ายเงินก้อนโตเพื่อเลิกจ้าง ต้องสำรองเงินเพื่อเกษียณสำหรับพนักงานที่ไม่เก่งไว้เยอะมาก
.
แม้เรื่องโครงสร้างเงินเดือนจะสำคัญน้อยกว่ากำไร น้อยกว่าต้นทุนรวมก็จริง แต่หากปล่อยไปโดยไม่บริหารจัดการไว้ล่วงหน้า รับรองว่าปัญหาดังที่กล่าวมาจะมาเยือนแน่ๆ จะมาเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร
.
อยากจะฝากถึงผู้บริหารว่า
เรื่องโครงสร้างเงินเดือนเรื่องยากและอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจและไม่บริหารจัดการให้เป็นระบบ